ศาสตร์ของพระราชา

ปัตตานีบ้านฉัน...: รวมศาสตร์ของพระราชาเพื่อการอนุรักษ์ป่า ...

ศาสตร์พระราชา

ศาสตร์พระราชา คือ ศาสตร์การจัดการและการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษา คิดค้น และวิจัย แล้วพระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อใช้ในการจัดการลุ่มน้ำ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ จากภูผาสู่มหานที เมื่อนำองค์ความรู้นี้มาปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงพระราชทานองค์ความรู้ผ่านพระราชดำรัส พระราชปรารภ และพระบรมราโชวาท ในหลากหลายวาระ ซึ่งโครงการฯ น้อมนำมาเป็นหลักการ และแนวทางในการปฏิบัติ อาทิ

ดิน


...ดินนั้นพัฒนาขึ้นมาได้โดยไม่ยากนัก ดินจะเค็มจะเปรี้ยวจะจืดอะไรก็ตาม สามารถที่จะทำให้ดีขึ้นได้ภายในไม่กี่ปี โดยใช้เทคนิคแบบโบราณคือ ใช้ปุ๋ยหมักหรือใช้ตะกอนที่ลงมาตามลำห้วย มาพัฒนาดินอันนี้เป็นวิธีที่ง่าย...”

น้ำ

“...หลักสำคัญว่า ต้องมีน้ำ น้ำบริโภคและน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”

พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2529

ป่า

“...การที่จะมีต้นน้ำลำธารไปชั่วกาลนานนั้น สำคัญอยู่ที่การรักษาป่าและปลูกป่าบริเวณต้นน้ำ ซึ่งบนยอดเขา และเนินเขาสูงขึ้น ต้องมีการปลูกป่าโดยไม้ยืนต้นและปลูกไม้ฟืน ซึ่งไม้ฟืนนั้นราษฎรสามารถตัดไปใช้ได้ แต่ต้องมีการปลูกทดแทนเป็นระยะ ส่วนไม้ยืนต้นนั้นจะช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้น เป็นขั้นตอนหนึ่งของระบบการให้ฝนตกแบบธรรมชาติ ทั้งยังช่วยยึดดินบนเขาไม่ให้พังทลายเมื่อเกิดฝนตกอีกด้วย ซึ่งถ้ารักษาสภาพป่าไว้ดีแล้ว ท้องถิ่นจะมีน้ำไว้ใช้ชั่วกาลนาน...”

พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2520
ณ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี

“...ถึงบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ สองอย่างนี้จะทำความเจริญแก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”

พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541

               ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร                            

การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่คนไทยรู้จัก “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” พระราชทานเป็นแนวทางในการนำพาประเทศไทยให้ข้ามพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หรือ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ “ฟองสบู่แตก” จนหลายภาคส่วนน้อมนำหลักปรัชญานี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยอาจารย์ยักษ์ หรือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้เด็ดเดี่ยวตามรอยในหลวงให้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต  ได้ศึกษาและเขียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาตลอดตั้งแต่ปี 2540 จวบจนทุกวันนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษา จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดย “มูลนิธิมั่นพัฒนา” ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2557 

โครงการฝนหลวง จากฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนาสู่มหานที

วิธีทำฝนหลวงมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน คือการดัดแปรสภาพอากาศหรือก้อนเมฆในขณะนั้นเพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศ ชื้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบนอันเป็นการชักนำไอน้ำหรืออากาศชื้นเข้าสู่กระบวน การเกิดเมฆ ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน คือการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อทำให้เมฆเจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่หนาแน่นและพร้อมที่จะตกลงมาเป็นฝน ขั้นตอนที่ 3 โจมตีคือการดัดแปรสภาพอากาศที่จะกระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกันแล้วรวมตัว เข้าด้วยกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการลดแรงไหลพาขึ้นเบื้องบน เพื่อให้เม็ดน้ำ มีขนาดใหญ่ตกลงสู่เบื้องล่างแล้วเกิดเป็นฝนตกลงมาสู่เป้าหมาย

   ฝายชะลอความชุ่มชื้น( Check Dam) หรือฝายแม้ว 

                 

ใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายในท้องถิ่นเช่นก้อนหินและไม้เพื่อก่อเป็นฝายขวางร่องน้ำหรือห้วยเล็กๆทำหน้าที่กักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลงและให้น้ำสามารถซึม ลงใต้ผิวดินสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น อีกทั้งยังช่วยดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง

   แฝก

การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับเพื่อช่วยชะลอความชุ่มชื้นไว้ในดิน โดยรากของหญ้า แฝกจะขยายออกด้านข้างเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 50 เซนติเมตรและจะแทงลงไป เป็นแนวลึกใต้ดิน 1-3 เมตรแล้วสานกันเป็นแนวกำแพงดูดซับความชุ่มชื้นให้แก่ผิวดิน

  ทฤษฎีใหม่

                    

เป็นการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กบนผิวดินในพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรโดยแบ่ง ที่ดินสำหรับใช้ขุดเป็นสระเก็บน้ำให้สามารถใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปีและสามารถ เลี้ยงปลาไปพร้อมๆกันนอกจากนี้บริเวณขอบสระยังสามารถใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ได้อีกด้วย

    โครงการแก้มลิง

                  

หลักการของโครงการ คือเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองชักน้ำให้ไหลมารวมกันเก็บไว้ ในแหล่งพักน้ำแล้วจึงค่อยทำการระบายลงสู่ทะเลผ่านทางประตูระบายน้ำในช่วงที่ ปริมาณน้ำทะเลลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถสูบน้ำออกจากคลองที่เป็นแก้มลิงลงสู่ ทะเลตลอดเวลาเพื่อที่น้ำจากตอนบนจะได้ไหลลงมาได้เรื่อยๆและเมื่อใดก็ตามที่ ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงกว่าระดับน้ำในคลองที่เป็นแก้มลิงก็ให้ปิดประตูระบายน้ำกั้นไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับเข้ามา

   การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย

                   

เป็นการนำน้ำคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาส่งเข้าไปไล่น้ำเสียตามคลองใน เขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้แก่คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์และ คลองบางลำภูเพื่อช่วยลดปัญหา ความเน่าเสียของน้ำในคลองต่างๆคล้ายกับ การ “ชักโครก”คือปิดและเปิดน้ำให้ได้จังหวะตามเวลาน้ำขึ้น-น้ำลงหากน้ำขึ้น สูงก็เปิดประตูน้ำให้น้ำดีเข้าไปไล่น้ำเสียครั้นน้ำทะเลลงก็เปิดประตูถ่ายน้ำเสียออกจากคลองไปด้วย

   กังหันน้ำชัยพัฒนา

                    

กังหันชัยพัฒนา หรือ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย เป็นกังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร ใช้บำบัดน้ำเสียที่เกิดจากชุมชนและอุตสาหกรรมลักษณะเป็นเครื่องกลหมุนช้าแบบทุ่นลอยเพื่อช่วยเติมออกซิเจนที่ผิวน้ำ

   การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ 2 วิธี

วิธีที่ 1 การใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยการใช้น้ำหมักชีวภาพปริมาณ 1 ต่อ 500 ส่วนราดลงทั้งในน้ำทิ้งจากครัวเรือน ตลาดสดฟาร์มปศุสัตว์หรือโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย อินทรีย์สารในแหล่ง น้ำนอกจากนี้น้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้ได้ดีในการปรับสภาพน้ำในบ่อประมงทั้งบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาได้เป็นอย่างดี วิธีที่ 2 ลูกระเบิดจุลินทรีย์ เป็นการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้ดีขึ้นด้วยจุลินทรีย์เช่นเดียวกับการใช้น้ำ หมักประกอบด้วยโคลนจากท้องน้ำ 50กิโลกรัม,ร้า 10 กิโลกรัม,ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดหรือ ผง 50 กิโลกรัมและน้ำหมักชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้ว 3 เดือนขึ้นไปโดยนำทุกอย่างมาผสมเข้าด้วยกันจนสามารถปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกเปตองนำไปผึ่งไว้ในที่ร่ม จนแห้งสามารถนำไปบำบัดน้ำได้โดยใช้ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ล้านลิตร หรือ 25 กิโลกรัมต่อพื้นที่ไร่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่เน่าเสีย

ในบริบทของท้องถิ่นนั้นปัจจุบันได้มีการน้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าว มาปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตาม “แผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น ในด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ” (Local Sufficiency Economy Plan : LSEP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นทางเดินที่ถูกทางแล้ว เราชาว อปท. มาช่วยกันนำทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมกันหน่อย


อ้างอิง:https://sites.google.com/site/sastrphraracha2513/

         https://ajourneyinspiredbytheking.org/th/knowledge/







                                                                                  













ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สิ่งที่ผมสนใจ